วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

คลังภาพประทับใจ

ขอบคุณรุ่นพี่ปี 3 วิจิตรศิลป์ฯ ที่ชวนไปเป็นแบบ ถึงอากาศจะร้อน แต่ก็สู้เต็มที่สำหรับงานนี้ 
พี่ๆ น่ารักและเป็นกันเองทุกคน ^^'' และขอบคุณสำหรับรูปภาพสวยๆ ค่ะ
(( สำหรับเซ็ตนี้ เป็นชุดนักศึกษา เป็นการฝึกถ่าย portrait ))





(( เซ็ตที่ 2 )) ตื่นแต่เช้าาาาา.. ไปถ่ายที่สวนบวกหาด ง่วงมากมาย -.-zZ แต่ก็อดทนสู้ งานนี้พี่ๆ ต้องส่งงานให้อาจารย์แล้ววว.. O.o มาดูกันดีกว่า พี่ๆ เค้าตั้งใจถ่ายมาก ชอบและประทับใจที่สู๊ดดด เลยยยย 












ขอบคุณ พี่ๆ happytoshot ที่ชวนไปเป็นแบบ และถ่ายรูปสวยๆ ให้
เป็นช่วงเวลาแห่งความประทับใจ พี่ๆ เทคแคร์ดีมากๆ ค่ะ และหวังว่าโอกาสหน้าคงได้ร่วมงานกันอีก *.*











วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ตัวอย่างภาพในแบบต่างๆ

ตัวอย่างภาพ ค่า F ต่างๆ ในความเร็วชัตเตอร์ที่เท่ากัน


ตัวอย่างภาพที่ได้จากการปรับค่ารูรับแสง (ค่า F)


ตัวอย่างภาพที่ได้จากการใช้เลนส์ในระยะที่แตกต่างกัน


 
การถ่ายรูปแบบ Portraits

การใช้รูรับแสงที่แตกต่างกันจะเกิดภาพที่เรียกว่า ชัดลึก ชัดตื้น
ตัวอย่างภาพที่จากเลนส์ที่มีระบบกันสั่น



การถ่ายรูปแบบ Landscapes

ตัวอย่างภาพที่ได้จากเลนส์ ที่มีช่างความกว้างมาก ๆ
ตัวอย่างการถ่ายภาพแบบ Landscapes โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ



การถ่ายภาพแบบ Macro
ตัวอย่างภาพที่ได้จากการใช้เลนส์แบบ Macro






การถ่ายภาพแบบ Marcro จะต้องใช้ค่าตั้งกล้อง และสายลั่นชัตเตอร์ หรือรีโมทช่วยในการถ่ายภาพ


รูปภาพจาก : www.canon.co.th และ internet
เรียบเรียงโดย : Mr.A @Zookzon.Com

ไวท์บาลานซ์ และ ISO ของกล้อง

ISO ของกล้องคือ
 
    iso ย่อมาจาก International Standards Organization (ความไวแสง) คือความสามารถในการรับแสงของฟิล์มสำหรับถ่ายภาพ หรือเซนเซอร์รับภาพของกล้อง ความไวแสงสูงๆ จะทำให้รับแสงได้เร็ว เปรียบเทียบกับแก้วน้ำขนาดต่างๆ ความไวแสงสูงก็เหมือนกับแก้วน้ำใบเล็กๆ ส่วนความไวแสงน้อยๆ ก็เหมือนกับแก้วใบใหญ่ๆ เมื่อเอาไปรองน้ำ แก้วเล็ก น้ำจะเต็มเร็ว แต่แก้วใหญ่ต้องเปิดน้ำนานกว่า เพื่อให้น้ำเต็มแก้ว ภาพถ่ายที่เราถ่ายมาก็เช่นเดียวกันจะต้องได้รับแสงที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ภาพ ที่มีความสว่างพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป ถ้าเราให้กล้องเปิดชัตเตอร์แล้วปิดเร็ว ภาพก็จะมืด ถ้าเปิดนานมากๆ ก็จะสว่างเกินไป
 
ตัวอย่างภาพ




ไวท์บาลานซ์

 


     สมดุลแสงขาวของกล้องดิจิตอล ซึ่งฟังกัชันนี้มีในกล้องดิจิตอล SLR ทุกรุ่น ซึ่งต้องมีระบบปรับสมดุลแสงขาวอัตโนมัติ  ถามว่าทำไมต้องมีไวท์บาลานซ์ เนื่องจาก ไวท์บาลานซ์ทำให้ภาพถ่ายมีสีสันถูกต้องไม่ว่าจะถ่ายภาพกลางแจ้ง หรือสภาพแสงอื่นๆ ที่มีอุณภูมิสีแตกต่าง กัน ถ้าเป็นกล้องใช้ฟิล์มซึ่งสมดุลแสงกลางวันที่อุณภูมิสี 5000-5500 องศาเคลวิน จะได้ภาพที่มีถูกต้องก็ต่อเมื่อถ่ายภาพด้วยแสงกลางวัน หรือแสงแฟลชเท่านั้น  ถ้าอยู่ในที่ร่มอุณภูมิสีจะสูงภาพจะมีโทนสีฟ้า หรือช่วง เย็นอุณภูมิสีต่ำ ภาพจะมีโทนสีส้มแดง แต่กล้องดิจิตอลจะให้โทนสีถูกต้องได้แม้ว่าสภาพแสงจะแตกต่างกัน  นอกจากระบบออโต้แล้วส่วนใหญ่กล้องดิจิตอล SLR จะมีระบบ PRESET ให้ปรับตั้งตามสภาพแสงแบบต่างๆอีก แต่ละรุ่นสามารถเลือก ได้ไม่เท่ากัน เช่นแสงดวงอาทิตย์แสงในที่ร่ม แสงจากไฟฟลูออเรสเซ้นท์ในอาคาร แสงไฟ ทังสเตนเป็นต้น กล้องดิจิตอลบางรุ่นมีระบบถ่ายภาพ 3 หรือ 5 ภาพติดต่อกัน แต่ละภาพมีการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิสีที่แตกต่างกันอัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลามานั่งปรับแต่งทีละภาพ บางรุ่นยังกำหนดตัวเลขอุณภูมิสีเองได้ ปรับได้ละเอียดมากขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความพิถีพิถันในเรื่องของสีให้ถูกต้องมากที่สุด หรือปรับชิพท์ไวท์บาลานซ์ได้เพิ่มแก้ไขปัญหาเรื่องภาพมีโทนสี แดงหรือสีฟ้ามากเกินไปเพียงเล็กน้อย การปรับชิพซ์ไวท์บาลานซ์จะช่วยให้ได้ภาพที่มีสีสันถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน บางรุ่นมีระบบคัสตอมหรือแมนนวล โดยเทียบจากวัตถุที่มีสีขาวซึ่งจะทำให้ได้สีที่ถูกต้องมากที่สุด
 
 
 
ที่มา : http://www.girlyshopza.com
รูปภาพจาก : http://www.olympusimaging-th.com/product_detail_SLR.php?id=28

รูรับแสง

รูรับแสง หรือ aperture
เป็น ค่าการเปิดรับแสงผ่านเลนส์ สู่เซ็นเซอร์กล้อง นอกจากจะเป็นตัวปิดกั้นให้แสงเข้ามากน้อยแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อภาพคือ เกิดความชัดลึก และชัดตื้น




ลองสังเกตุว่าค่ารูรับแสงกว้างที่ F2.8 ทำให้ภาพรถเบลอได้มากกว่า รูแคบสุดอย่าง F11 ดังนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะเลือกใช้ค่าไหน เช่น ถ่ายภาพบุคคล ณ ขณะนั้นฉากหลังรกมาก เราก็เลือกใช้รูรับแสงกว้าง เพื่อละลายฉากด้านหลัง เพื่อให้คนเด่นขึ้น หรือที่เรียกว่า "ชัดตื้น" นั่นเอง
 

ตัวอย่างรูป ชัดตื้น







กลับกันถ้า เราถ่ายภาพวิวแน่นอนว่า ต้องการให้เห็นชัดทั้งหมด หน้า-หลัง ก็เลือกค่ารูรับแสงที่แคบลงหน่อย เช่น F8, F11 หรือ F32 เลย เป็นต้น เพื่อให้ภาพออกมาแล้วดูชัดทั้งด้านหน้า และด้านหลัง อย่างนี้เราเรียกว่า "ชัดลึก" ค่ะ

ตัวอย่างรูป ชัดลึก







ทริก :- รูรับแสงกว้าง แสงเข้าได้มาก / รูรับแสงน้อยแสงเข้าได้น้อย

- ตัวเลขมากรูรับแสงน้อย เช่น F32 / ตัวเลขน้อยรูรับแสงมาก เช่น F2.8

- ค่าความคมชัดของเลนส์แต่ละตัว มีค่ามากน้อยแตกต่างกัน โดยมากค่ารูรับแสงที่ได้ภาพที่คมชัดที่สุดคือ +2 stop ของขนาดกว้างสุดของเลนส์ เช่น เลนส์รูรับกว้างสุดที่ F2.8 สันนิษฐานได้ว่า ค่าที่คมชัดที่สุดคือ F4

- กรณีรูรับแสงกว้าง ระวังเรื่องการโฟกัสนิดนึง เพราะจะทำให้ภาพหลุดโฟกัสได้ง่ายมาก
 

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

หลักการถ่ายรูปเบื้องต้น

ระบบสปีด ชัตเตอร์ หรือ speed shutter

คือ ม่านสำหรับปิด-เปิด และยอมให้แสงที่รับมาจากเลนส์ ผ่านเข้าเซ็นเซอร์รับภาพ กลไกม่านชัตเตอร์สามารถเปิดค้างพอรอรับได้แสงนาน และเปิด-ปิดรับแสงได้ไวมากเช่นกัน





ตัวอย่างแรก speed shutter สูง



 สามารถจับความเร็วได้ หยุดน้ำให้แน่นิ่งได้เหมาะกับการถ่ายภาพกีฬาที่มีการเคลื่อนที่เร็วหรือภาพสัตว์ที่ไม่ค่อยอยู่นิ่ง เป็นต้น


มาดูผลลัพธ์ของ speed shutter ต่ำ กันบ้าง

ความเร็วต่ำ เช่น เหมาะกับการถ่ายภาพน้ำตก ทำให้น้ำเป็นปุยหมอก หรือการถ่ายภาพที่เน้นให้เห็นการเคลื่อนไหวของวัตถุ

ดูว่าความเร็ว speed shutter ขนาดไหน มีผลต่างกันอย่างไร

house of foto art

HOUSE OF FOTO ART


เว็บนี้ทำขึ้นเพื่อบันทึกข้อความส่วนตัว และเก็บข้อมูล รูปภาพต่่างๆ ไว้
  • ผลงานส่วนตัว
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์การถ่ายรูป